วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใครที่ชอบเขียนโค้ดด้วยโปรแกรม Dreamweaver อาจจะพบปัญหาที่ว่า พอเขียนโค้ดไปบ่อย ๆ หรือนาน ๆ เข้า รูปแบบโค้ดไม่สวยงามเอาเสียเลย หรือเขียนแล้วทำให้พอเวลาผ่านไปกลับมาอ่านโค้ดอีกทีอ่านยากมาก ไม่ว่าจะเป็นโค้ด HTML โค้ด CSS หรือโค้ดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเว็บของเรา โปรแกรม Dreamweaver ช่วยท่านจัดรูปแบบหรือ Format ของโค้ดเหล่านั้นได้ ด้วยการ Click เพียงครั้งเดียว ซึ่งบทความนี้จะแนะนำท่านลองติดตาม วิธีการใช้งาน Apply Source Formatting 1. ทำการเปิดไฟล์เว็บเพจที่ท่านต้องการจัดรูปแบบ Code ขึ้นมากับโปรแกรม Dreamweaver 2. จากนั้นให้ท่านคลิ๊กที่ Code View (Code View) 3. จากนั้นไปที่ Main Menu > Command > Apply Source Formatting ดังรูป Apply Format Before Code After CODE 4. เมื่อท่านเลือกที่เมนูดังกล่าวแล้ว โปรแกรมจะทำการจัดรูปแบบโค้ดให้ท่านตามรูปแบบที่มีมากับ Code Format ซึ่งท่านสามารถ Set ได้ที่ Main Menu > Edit > Preferences.. Dreamweaver Preferences.. ................................................................................................................................................................................ ส่งท้าย..หวังว่าบทความนี้คงจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ใช้งานโปรแกรม Dreamweaver ไม่มากก็น้อยครับ.

เมื่อเราได้ทำการกำหนดโครงสร้าง ของเว็บเพจเราไปจากในตอนที่ 1 ของบทความนี้แล้ว ต่อมาก็มาถึงจุดสำคัญกัน นั่นก็คือ การกำหนด CSS ที่ใช้ในการบอกถึงการแสดงผล ว่าจะให้ออกมาในรูปแบบเลย์เอาท์ที่เราต้องการได้อย่างไร มาดูกันต่อนะครับ
1. ให้เราทำการเปิด CSS Panel ขึ้นมา ดังรูป เพื่อกำหนดค่า CSS (สำหรับการสร้างและการกำหนดค่า CSS เราเริ่มต้นที่การกดไปที่ icon ที่ชื่อว่า New CSS Rule ของ CSS Panel นะครับ)
CSS Panel
* การใช้งาน CSS Panel สำหรับการกำหนดค่า คุณสามารถอ่านได้จากบทความ เหล่านี้
- การใช้งาน CSS กับโปรแกรม Dreamweaver
- การใช้งาน CSS กับโปรแกรม Dreamweaver 2
(การใช้งาน Panel ดังกล่าวผมจะไม่กล่าวถึงในที่นี้)
2. ผมกำหนด CSS ที่ Tag Body ดังรูป
CSS Body
- Padding: 0px;
- Margin: 0px;
ต่อมาในการกำหนดค่าให้กับ DIV ที่เราได้กำหนดเป็น ID ต่าง  ๆ ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
- ถ้าเป็นการกำหนดที่ ID ที่ชื่อว่า header ให้เราสร้าง ดังรูป
CSS ID
การกำหนดค่าให้กับ ID Selector กำหนดให้ส่วนที่เป็น header มีความสูงที่ 100 pixels (Height: 100px;)
CSS PROPERTIES
3. จากนั้นที่ container กำหนดค่า ดังรูป
CSS container
4. ที่ sidebar กำหนด ดังรูป
CSS Side Bar
5. ที่ mainContent กำหนด ดังรูป
CSS Main Contents
6. ในส่วนสุดท้าย คือ footer ให้กำหนด ดังนี้
CSS Footer
7. เมื่อเราได้กำหนด CSS ตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่แนะนำมา เราก็จะได้โครงสร้างของเลย์เอาท์กันแล้วนะครับ ต่อไปก็ให้เราทำการกำหนดค่าสีพื้นหลังของส่วนต่าง ๆ หรือรูปแบบ Font ต่าง ๆ กัน โดยใช้วิธีการแก้ไข CSS เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว เราก็จะได้รูปแบบเว็บหน้าตาออกมาในลักษณะนี้
CSS Example
หากใครสงสัยค่า Properties ที่ผมกำหนดให้กับ CSS ในส่วนต่าง ๆ อาจจะดูได้จากโค้ด CSS นี้ประกอบ
CSS CODE
................................................................................................................................................................................
สำหรับ รายละเอียดเรื่องของการเลย์เอาท์ด้วย CSS ยังมีอีกมาก ที่นำเสนอบทความนี้ เป็นเพียงแค่พื้นฐานให้คุณทำความเข้าใจเบิ้องต้นก่อน หากคุณสนใจที่จะศึกษาเรื่องการเลย์เอาท์ด้วย CSS ลองติดตามบทความที่ DwThai.Com ไปเรื่อย ๆ  นะครับ จะพยายามเขียนในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ได้อ่านกันต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น